Welcome

วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2556

15 กรกฎาคม  2556
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED  3207
เวลา 14.10 - 17.30 น.
อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอ สิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้  ดังนี้
หยก  :  นำเสนอเรื่อง เลี้ยงลูกบอลด้วยลม
ออย  :  นำเสนอเรื่อง กังหันลม
เฟิร์น :  นำเสนอเรื่อง ไก่กระต๊าก
อ๊อฟ  :  นำเสนอเรื่อง เครื่องบินแรงดันอากาศ
แอม  :   นำเสนอเรื่อง ไปเป้เป่าลม
จู      :   นำเสนอเรื่อง ปืนขวดน้ำ
ริตา  :   นำเสนอเรื่อง  เรือพลังยาง
ปริม  :   นำเสนอเรื่อง  จานหมุนมีชีวิต
ปรางค์ :  นำเสนอเรื่อง  กล้องผสมสี
ไอซ์    :   นำเสนอเรื่อง ขวดผิวปาก
             อาจารย์ให้นักศึกษาที่ออกไปนำเสนอสิ่งประดิษฐ์หน้าชั้นเรียน เอาสิ่งที่นำเสนอไปลงในบล็อกของตนเอง โดยให้บอกวิธีการทำต่างๆอย่างละเอียดพร้อมรูปภาพประกอบ และคาบหน้าให้นักศึกษาประดิษฐ์สิ่งประดิษฐ์ของตนเองมา 1 ชิ้น และเตรียมอุปกรณ์มา 1 ชุด เพื่อที่จะนำมาสาธิตวิธีการทำแก่เพื่อนที่จับคู่กัน

ของเล่นวิทยาศาสตร์ ของฉัน
ถ้วยกระโดดได้

ถ้วยกระโดดได้ เป็นอุปกรณ์มายากลง่ายๆ ที่ใช้แสดงมายากลวิทยาศาสตร์ โดยใช้อากาศพลศาสตร์เป็นหลัก
อุปกรณ์ที่ใช้ :
1.            ถ้วยพลาสติก หรือ ถ้วยกระดาษ 2 ใบ
2.            เชือกเส้นเล็ก 1 เส้น ยาวประมาณ 2 ฟุต
3.            ถุงพลาสติก
4.            อุปกรณ์ : กรรไกร, เทปกาว
ขั้นตอนการประดิษฐ์ :
1.            ติดปลายเชือกด้านหนึ่ง เข้ากับด้านนอกของก้นถ้วยใบแรก โดยใช้เทปกาว
2.            ติดปลายเชือกอีกด้านหนึ่ง เข้ากับด้านในของก้นถ้วยใบที่สอง โดยใช้เทปกาว
3.            ใช้กรรไกรตัดถุงพลาสติกเป็นริ้วยาว ความกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ยาวประมาณ 4-5 เซนติเมตร
4.            ใช้เชือกผูกริ้วพลาสติก รัดให้เป็นระยะๆ พองาม
วิธีเล่น :
1.            ถือถ้วยใบที่สองไว้ในมือ (ใบที่มีเชือกติดอยู่ที่ด้านในของก้นถ้วย)
2.            ใช้มือจับสายเชือกพร้อมริ้วพลาสติก ใส่ลงไปในถ้วยใบที่สอง แล้วใช้ถ้วยใบแรก 
วางซ้อนลงไปจนมิด
3.            ส่งถ้วยทั้งสองใบให้เพื่อนถือไว้ด้วยมือหนึ่ง แล้วบอกให้เพื่อนทำให้ถ้วยใบแรก 
กระโดดออกจากถ้วยใบที่สอง โดยไม่ต้องใช้มือ หรืออุปกรณ์ใดๆ ช่วยเหลือ 
และห้ามขยับมือที่ถือถ้วยด้วย
วิธีทำ :
1.            ใช้ปากเป่าลมแรงๆ ระหว่างปากถ้วยทั้งสอง ถ้วยใบที่อยู่ด้านในจะกระโดดออกมาข้างพร้อมกับดึงเชือกและริ้วพลาสติกตามออกมาด้วย
เกิดอะไรขึ้น? : เมื่อเราเป่าลม อากาศจะวิ่งเข้าไปสู่พื้นที่ว่างระหว่างถ้วยทั้งสองใบ ทำให้แรงกดดันอากาศภายใน สูงกว่าแรงกดดันอากาศภายนอก ทำให้ผลักถ้วยที่อยู่ภายในกระเด็นออกมาได้
น้องๆ ลองประกวดกันว่า ใครสามารถทำให้ถ้วยกระเด็นออกไปได้ไกลกว่ากัน


ลักษณะของถ้วยเมื่อประดิษฐ์เสร็จ


ซ้อนถ้วยไว้แบบนี้ ก่อนส่งให้เพื่อนลองทำ


เมื่อเป่าลมที่ปากถ้วย ถ้วยจะกระเด็นออกไป